วันเสาร์ที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555
 หมายเหตุ: สอบกลางภาค

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่7

วันอังคารที่18 ธันวาคม  2555
 หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากมีกีฬาบุคลากร

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่6

วันอังคารที่11ธันวาคม 2555

ความรู้ที่ได้รับวันนี้
อาจารย์ใช้คำถาม

-กล่องที่นำมา เห็นเเละนึกถึงอะไร
-อยากให้กล่องเป็นอะไร
-กล่องนอกจากใส่ของเเละทำอะไรได้อีก
หน่วยเรื่อง กล่อง
เชื่อมโยงกับคณิตศาสตร์
1.รูปทรง
2.ขนาน
3.พื้นที่
4.ประเภทของกล่อง
5.การวัด  กล่องเป็นเครื่องมือการวัด
6.จำนวน
7.เปรียบเทียบขนาด
8.จับคู่ รูปทรงที่เหมือนกัน ขนาดเท่ากัน
9.จัดประเภทกล่องที่มีสีเเดงเเละไม่มีสีเเดง
10.ทำตามเเบบ
11.เซต เซตของขวัญปีใหม่
12.เศษส่วน
13.การอนุรักษ์ (จับคู่ 1ต่อ 1)
กิจกรรมในห้องเรียนวันนี้
นักศึกษานำกล่องของเเต่ละคนมาประกอบกันเป็นกลุ่มย่อย
 เเต่ล่ะกลุ่มย่อย นำผลงานมาจัดรวมกันงาน ชิ้นเดียว ดังภาพต่อไปนี้

วันพุธที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่5

     วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน 2555

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

นำเสนองานของเเต่ละกลุ่มที่ได้ทำเป็นประโยค เเละทำการเเก้ไขในหน่วยของตนเอง
มอบหมายงานภายในกลุ่ม
-เขียนเเผนการจัดการเรียนรู้ในหน่วยของเเต่ละกลุ่ม โดยมีทั้งหมดห้าวัน

วันพฤหัสบดีที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่4

วันอังคารที่ 27พฤศจิกายน 2555
ความรู้ที่ได้รับวันนี้
นำเสนองานเเต่ละกลุ่ม

หน่วยเรื่อง บ้าน
การนับ---บ้านหลังนี้มีหน้าต่างกี่บาน
ตัวเลข---บ้านเธอ บ้านเลขที่เท่าไร
เปรียบเทียบ---บ้านของเพื่อนใหญ่กว่าบ้านของฉัน
การจัดลำดับ----ตอนเช้าฉันทำความสะอาดห้องนอน หลังจากนั้นตอนบ่าย ไปทำความสะอาดห้องน้ำ
การวัด---บ้านของฉันห่างจากบ้านเพื่อน 50 ก้าว
เซต---ฉันไปซื้อชุดกาเเฟที่มีทั้งเเก้ว ช้อน จาน
---บ้านของฉันเเบ่งเป็น3ส่วนเท่าๆกัน ส่วนที่1 ปลูกผัก ส่วนที่2 เลี้ยงปลา ส่วนที่3ปลูกผลไม้
การทำตามเเบบหรือลวดลาย---ให้เด็กๆต่อเติมภาพรูปบ้านที่คุณครูกำหนด
การอนุรักษ์หรือ การคงที่ด้านปริมาณ---บ้านสร้างมา20ปีเเต่บ้านยังคงสภาพเดิม(เด็กๆมีดินน้ำมัน1ก้อนปั้นเป็นรูปต่างๆ)
หน่วยเรื่อง เเมลง
การวัด---ให้เด็กๆวัดแมลงปอโดยใช้ไม้บรรทัด
เซต---เซตของอุปกรณ์ในการจับแมลง     เซตของกลุ่มอาหารของแมลง
เศษส่วน---มีแมลงอยู่10ตัว แบ่งเป็นสองส่วนเท่าๆกัน
การทำตามแบบหรือลวดลาย---ให้เด็กสังเกตภาพมาต่อเป็นจิกซอล
หน่วยเรื่อง ดอกกุหลาบ
การนับ---ให้เด็กนับตัวเลขฮินดูอาราบิกมาติดบนรูปดอกกุหลาบ
การจับคู่---ให้เด็กๆจับคู่ภาพดอกกุหลาบที่มีจำนวนเท่ากัน
การเรียงลำดับ---เรียงลำดับขนาดของดอกกุหลาบจากเล็กไปใหญ่
การวัด---ให้เด็กๆวัดความยาวของก้านดอกกุหลาบโดยใช้ไม้บรรทัด
การจัดประเภท---ให้เด็กๆจัดประเภทดอกกุหลาบที่มีสีแดง
เศษส่วน---มีดอกกุหลาบทั้งหมด10ดอก แล้วให้เด็กๆ แบ่งใส่แจกันเป็น 2 กอง
เซต---อุปกรณ์ ในการปลูกต้นดอกกุหลาบ
เปรียบเทียบ---เปรียบเทียบดอกกุหลาบ2ดอกว่าดอกใดยาวกว่าดอกใด
รูปทรงและเนื้อที่---แปลงดอกกุหลาบ1แปลง ปลูกกุหลาบได้กี่ต้น
หน่วยเรื่อง ยานพาหนะ
การนับ---รถคันนี้มีกี่ล้อ
ตัวเลข---ฉันขึ้นรถเมล์สาย191
การจับคู่---หมวกันน็อกใช้กับรถอะไร  เปลี่ยนเป็น
 ให้เด็กๆจับคู่เลขฮินดูอาราบิกกับจำนวนหมวกกันน็อก
การจัดประเภท---รถยนต์คันนี้จอดไว้ที่ไหน เปลี่ยนเป็น
ให้เด็กๆหยิบภาพที่มีตัวเลขมาติดไว้ที่ลาดจอดรถที่ครูกำหนด
การเปรียบเทียบ---รถไฟมีล้อมากกว่ารถเมล์ เปลี่ยนเป็น
 เด็กๆลองดูซิค่ะรถชนิดใดมีล้อมากกว่ากัน
รูปทรงและเนื้อที่---รถไฟมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า  เปลี่ยนเป็น
เด็กๆดูแล้ว รถไฟมีลักษณะรูปทรงอะไร
การวัด---ตั๊วเครื่องบินมีราคาแพง
เซต---การดูดฝุ่น เคลือบสี ฟอกสี เป็นการทำความสะอาดของรถ  (ถ้าเด็กๆจะทำความสะอาดรถเด็กๆจะทำอย่างไร)
การทำตามแบบหรือลวดลาย---ให้เด็กๆระบายสีภาพ

หน่วยเรื่อง ขนม
การนับ---การนับจำนวนชิ้นของขนม
ตัวเลข---ตัวเลขแทนค่าจำนวนขนมที่อยู่ในถาด
การจับคู่---จับคู่จำนวนขนมที่มีรูปร่างเหมือนกัน
การจัดประเภท---ให้เด็กๆแยกขนมที่นิ่มออกมาใส่จาน
การเปรียบเทียบ---ให้เด็กๆเปรียบเทียบขนาดของขนม เล็กไปใหญ่
รูปทรงและเนื้อที่---รูปทรงขนมแต่ละชนิดที่ต่างกัน
หยิบขนมที่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมมา  (เด็กๆดูซิคะว่าถาดใดใส่ขนมมากกว่ากัน)
การวัด---ให้เด็กๆลองชั่งขนมทั้งสองชนิด ชนิดไหนหนักกว่า
เซต---เด็กๆคิดว่าอุปกรณ์ในการทำขนมมีส่วนประกอบอะไรบ้าง
เศษส่วน---ขนม1ชิ้นแบ่งให้เด็กสองคน คนละเท่าๆกัน แบ่งได้สองส่วน
หน่วยเรื่อง กล้วย
การนับ---กล้วยในตะกร้ามีกี่ลูก
ตัวเลข---หยิบตัวเลขฮินดูอารบิกมาติดที่หวีของกล้วย
การจับคู่---จับคู่กล้วยหอมเล็กกับเล็ก ใหญ่กับใหญ่
การจัดประเภท---หยิบกล้วยหอมที่มีสีเหลืองใส่ตะกร้า
การเปรียบเทียบ---กล้วยผลที่หนึ่งกับผลที่สองผลใดใหญ่กว่ากัน
รูปทรง---ตัดต้นกล้วยที่มีรูปทรงวงกลม มาทำกระทง
การวัด---ให้เด็กๆวัดผลกล้วยโดยใช้ไม้บรรทัด
เซต---จัดเซตอุปกรณ์ทำกล้วยบวชชี
เศษส่วน---กล้วยหนึ่งหวี เเบ่งครึ่งเท่าๆกันให้กับเด็กสองคน
การทำตามเเบบ---วาดภาพต่อเติมต้นกล้วยจากที่ครูกำหนด
การอนุรักษ์---กล้วยฉาบเเบ่งใส่ขวดโหล กล้วยกวนเเบ่งใส่กล่อง





 

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

วันอังคารที่20 พฤศจิกายน 2555

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
-นำเสนองานในเเต่ละกลุ่ม
          เพลงที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ที่เพื่อนนำเสนอ 

      โป เล่   โป เล่   โป ลา           โป  ลา  โป ลา โบ เล่
เด็กน้อยยืนสองเเขนมา                 มือ ซ้าย ขวา ทำคลื่นทะเล
ปลาวาฬพ่นน้ำเป็นฝอย                ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตามกันมา
ปลาวาฬนับ 1 2 3                          ใครไหว้ตามปลาวาฬจับตัว

คณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัยศึกษา ควรประกอบด้วยหัวข้อ
ของเนื้อหาเเละ ทักษะ     (นิตยา ประพฤติกิจ.2541: 17-19) ดังนี้

1.การนับ Counting การนับ1-10 หรือมากกว่านั้น

2.ตัวเลข Number  กำกับจำนวน เเทนค่า ลำดับที่

3.การจับคู่ Matching ใช้ทักษะการสังเกต ลักษณะต่างๆ เเละจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน
เหมือนกัน หรืออยู่ประเภทเดียวกัน

4.การจัดประเภท Classification ให้เด็กรู้จักการสังเกตุคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ ว่าความเเตกต่าง
หรือเหมือนกันในบางเรื่อง เเละสามารถจัดประเภทได้

5.การเปรียบเทียบ Comparing ความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักการใช้คำศัพท์
ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า

6.การจัดลำดับ Ordering เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดๆหนึ่งตามคำสั่ง หรือกฎ

7.รูปทรงเเละเนื้อที่ Shpe and Space จัดประสบการณ์ให้เด็กเรียนรู้เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า

8.การวัด Measurement ให้เด็กวัดด้วยตนเอง

9.เซต Set เป็นกลุ่มที่เรากำหนดเกณฑ์ขึ้น เช่น เซตของจานอาหาร เช่น จาน ช้อน ซ้อม

10.เศษส่วน Fraction

11.การทำตามเเบบหรือลวดลาย patterning พัฒนาให้เด็กจดจำ รูปเเบบ ลวดลาย จำเเนกด้วยสายตา ให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามเเบบเเละต่อให้สมบูรณ์

12.การอนุรักษ์ หรือคงที่ด้านปริมาณ Conservation คือการที่เด็กสามารถบอกได้ว่า ปริมาณของวัตถุไม่ว่าจะเปลี่ยนรูปร่างหรือวัตถุ


ครูควรศึกษาเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กดังนี้ (เยาวพา เตชะคุปต์ 2542: 87-88)

1.การจัดกลุ่มหรือเซต
2.จำนวน1-10 การฝึกนับ 1-10 จำนวนคู่ จำนวนคี่
3.ระบบจำนวน
4.ความสัมพันธ์ระหว่างเซตต่างๆ
5.คุณสมบัติของคณิตศาสตร์จากการรวมกลุ่ม
6.ลำดับที่
7.การวัด
8.รูปทรงเรขาคณิต
9.สถิติเเละกราฟ เช่น สถิติต้องมีความสัมพันธ์ การวิ่ง  ระยะทางกับเวลา
    กราฟ มีความสัมพันธ์ นักเรียนชายมาโรงเรียน 10คน   นักเรียนหญิงมาโรงเรียน5คน     


ได้เวลาตื่นนอนหรือยังนะ?
มันยังมืดตึ๊ดตื่ออยู่เลย....ต๊องหน่อง
พี่ชายฉัน  ตื่นนอนหรือยังเอ่ย? 
 
(เรื่อง เวลา)
 
 
จัดเก็บเสื้อผ้าใส่ตู้ให้ถูกที
 
รับประทานอาหารเช้า/ เเละช่วยให้อาหารเเมว
ต้องไม่ให้มากเกินไป/ พอหรือยังนะ
 
(เรื่อง-การจัดประเภท เรียงลำดับ ปริมาณ )
 
 
 
พาต๊องโหน่งไปโรงเรียน /เดินไปที่มุมถนน
เเล้วข้ามที่สัญญาณไฟ
 
(เรื่อง-ลำดับเหตุการณ์ ตำเเหน่ง ทิศทาง )
 

การจัดประเภท  เสื้อตัวนี้เก็บไว้ที่ไหน
 
การนับ ส้ม 1กิโลกรัม มีกี่ลูก
 
รูปทรง ฉันไปหาซื้อนาฬิกาที่เป็นรูปวงกลม
 
เวลา ดูนาฬิกาซิ กี่โมงเเล้ว
 
ปริมาณ  ฉันจะไม่กินข้าวร้านนี้เเล้ว เพราะให้ข้าวน้อย
 
การเรียงลำดับเหตุการณ์ ฉันเรียนเสร็จเเล้วจะไปทานข้าวที่โรงอาหาร
 
การวางเเผน อาทิตย์หน้าฉันจะอ่านหนังสือเรื่องอะไรดีนะ
 
 
หมายเหตุ: งานไปคิดต่อจากที่ทำว่า เราจะเอาหน่วย เรื่อง กล้วย  ไปสัมพันธ์กับคณิตศาสตร์

 

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่2

วันอังคารที่13พฤศจิกายน 2555

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
กิจกรรมในห้องเรียน อาจารย์เเจกกระดาษ ให้นักศึกษาวาดภาพ พร้อมเขียนชื่อตนเองด้านล่าง
เเละให้นักศึกษาที่มาก่อนเวลา 08:30น.นำภาพที่วาดมาติดบนกระดาน พร้อมนับจำนวน










ตัวอย่างเช่น  มีอยู่ 1 เพิ่มมาอีก 1 เป็น 2   การนับ พื้นฐานการบวกเลขที่เพิ่มขึ้นที่ละหนึ่ง






เกมการศึกษา
1.เกมลอตโต้  ศึกษาในรายละเอียดของภาพ
2.โดมิโน  การต่อภาพตรงปลาย
3.จิกซอล ภาพตัดต่อ  ภาพย่อยต่อภาพใหญ่ที่สมบูรณ์
4.ภาพจับคู่ จะเป็น ภาพเหมือน  ความสัมพันธ์  ขนาด  สี   ภาษา เป็นต้น
5.เกมเรียงลำดับเหตุการณ์ คือการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่อง
อนุกลม คือ ความสัมพันธ์ ใหญ่ กลาง เล็ก
อุปมา อุปไมย  เช่น สีขาว เหมือน สำลี สีดำ เหมือน  อีกา
เกมเเบ่งเป็น 2 ประเภท
1.เกมเบ็ตเตล็ต คือ กติกาสามารถยือหยุ่นได้
2.เกมเเบบผลัด คือ เป็นเกมที่มี กฏ กติกาชัดเจน ทุกคนปฏิบัติเหมือนกันหมด
เล่นเสรี คือ การเลือกเล่นตามความสนใจของตนเองโดยครูเตรียมอุปกรณ์ เตรียมสื่อ
หมายเหตุ: งาน สร้างหน่วย 1 เรื่อง หน่วยนั้นน่าจะมีเนื้อหาอะไร

วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่1

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน 2555

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้

คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยในความคิดของตนเองคือ

-การเปรียบเทียบ สูง-ต่ำ มาก-น้อย ไกล-ไกล้ เเละ คณิตศาสตร์
เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินในชีวิตประจำวันของเด็กปฐมวัย

การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ต้องรู้อะไรบ้าง
- รู้ความหมาย
-รู้ความสำคัญ
-รู้หลักในการจัดที่ถูกต้อง
-รู้เทคนิกการใช้สื่อ
-รู้พัฒนาการเด็ก

การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัย-พัฒนาการ-สติปัญญา-เพียเจต์กล่าวว่า
เเรกเกิด-2ปี ช่วงนี้เด็กใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5
2-4ปี เด็กใช้ภาษาง่ายๆได้  4-6ปี เริ่มเป็นประโยค 6ปีปลายๆ เด็กเริ่มใช้เหตุผล

วิธีการเรียนรู้
-ใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5  เลือก คิด ตัดสินใจอย่างอิสระ